ประชาสัมพันธ์

11 พฤษภาคม 2553 ห้องสมุดออกให้บริการเคลื่อนที่ ณ หมู่ 6 ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

คลังแหล่งเรียนรู้

                                         คลังแหล่งเรียนรู้จังหวัดชัยนาท

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

         วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ที่บ้านท้ายเมือง หมู่ ๖ ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาท ๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา จากเขื่อนเจ้าพระยามีทางเลี้ยวขวาไปอำเภอสรรคบุรี ไปตามทางสายเก่าจะเห็นวัดพระบรมธาตุวรวิหารอยู่ขวามือ
วัดพระบรมธาตุ เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท เป็นวัดเก่า สร้างตั้งแต่สมัยพระศรีธรรมาโศกราช กรุงศรีอยุธยาตอนต้น ภายในวัดนี้มีเจดีย์พระบรมธาตุรูปแบบสถาปัตยกรรมอู่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ของจังหวัด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้สร้างพระปรางค์ด้วยศิลาแลง สูง ๗ วา รูปทรงสี่เหลี่ยม ฐานแต่ละด้านกว้างประมาณ ๓ วาเศษ (๖ เมตร) วัดพระบรมธาตุ เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนใน จังหวัดชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียงมาก นอกจากนี้ในบริเวณวัดพระบรมธาตุยังมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ชัยนาทมุนี) ซึ่งกรมศิลปากรได้มาทำการก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๙ เป็น ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่ สำคัญหลายประเภทของจังหวัดชัยนาท เช่น พระพุทธรูปปางต่าง ๆ เป็นต้น
พระปรางค์
           วัดพระบรมธาตุเป็นวัดโบราณ มีพระปรางค์สร้างด้วยศิลาแลง สร้างในสมัย แผ่นศิลาจารึก ไม่ได้กล่าวถึงผู้สร้างวัดนี้กล่าวแต่เพียงผู้ เดิมพระปรางค์องค์นี้หุ้มด้วยโลหะสีขาว ต่อมาบูรณะใช้หินและปูนหุ้มไว้
ประเพณี
          งานนมัสการและปิดทองพระปรางค์ในวันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ และ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ และในวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ประจำทุกปี
ความสำคัญ
         น้ำอภิเษกจากจังหวัดชัยนาทมีอยู่ ๒ แห่ง คือ น้ำตักที่หน้าวัดพระบรมธาตุ และน้ำตักที่หน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร วัดพระบรมธาตุ เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก

สวนนกชัยนาท
ประวัติความเป็นมา
           สวนนกชัยนาทเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท และเป็นที่สำหรับเยาวชนไว้ทัศนะศึกษา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ พื้นที่สวนนกมีขนาดใหญ่ ในเนื้อที่ ๗๕ ไร่ ภายในบริเวณมีกรงนกขนาดใหญ่ ปล่อยนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ภายนอกกรงประกอบด้วยกรงขนาดกลาง ขนาดเล็ก สวนหย่อม สระว่ายน้ำ สวนนกชัยนาทมีนกนานาชนิด ทั้งพันธุ์นกไทยและนกต่างประเทศ เช่น ทูแคน ทราโก้ ฟลาเม็งโก้ ตะกรุม อีมู กระเรียน มาคอร์ เงือกกรามช้าง กาอัง ฯลฯ และมีกรงนกใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขนาดกว้าง ๑๘๐ เมตร ยาว ๒๔๐ เมตร สูง ๒๔ เมตร คลอบคลุมพื้นที่ ๒๖ ไร่เศษ และมีกรงนกขนาดกลาด ๖๓ กรง
           สวนนกชัยนาทยังได้นำเอาสัตว์ป่า เข้ามาไว้ด้วย เช่น ละมั่ง เลียงผา กวางดาว เนื้อทราย เก้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชมและเป็นการพักผ่อน และที่พื้นที่สวนนกมีขนาดใหญ่ในเนื้อที่ ๗๕ ไร่มีกรงนกปล่อยนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติภายนอกกรงนกยังระกอบด้วยกรงขนาดกลาง ขนาดเล็ก สวนหย่อม สวนงู สวนกระต่ายศาลากลางน้ำ อาคารจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก นอกจากนี้ภายในสวนนกยังมีอาคารสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ใกล้สูญพันธุ์ และหาชมได้ยาก จำนวน ๖๓ ตู้ ๙๖ ชนิด เช่น ปลาเสือตอ ปลาตองลาย ปลาเสือสุมาตร ปลากดหิน ปลาบัวทอง ปลาแรดเผือก ฯลฯ
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพลอง หมู่ ๔ ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท
เวลาเปิดให้เข้าชม ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น.
โทรศัพท์ ๐-๕๖๔๑-๑๔๑๓
อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท
การเดินทาง การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึงสี่แยกถนนสายเอเชีย ช่วงชัยนาท-ตาคลี เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ประมาณ ๗ กิโลเมตร สวนนกชัยนาทจะอยู่ทางขวามือ ห่างจากสี่แยกถนนสายเอเชียประมาณ ๖ กิโลเมตร

วัดธรรมามูลวรวิหาร
ประวัติความเป็นมา
        วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นวัดเก่าที่ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดชัยนาท มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าวัดนี้สร้างในสมัยพญาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย) ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศตะวันออก
        ในวิหารวัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ลักษณะยืนปางห้ามญาติ ศิลปะผสมระหว่างอยุธยาและสุโขทัย มีรูป พระธรรมจักรปรากฏอยู่กลางฝ่าพระหัตถ์เบื้องขวา แปลกกว่าพระพุทธรูปปางห้ามญาติทั่ว ๆ ไป จึงได้นามว่า “หลวงพ่อธรรมจักร” ลักษณะพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบอยุธยาผสมสุโขทัย และสิ่งที่น่าสนใจ คือ ใบเสมา ซึ่งตั้งรายรอบ พระอุโบสถเป็นศิลปะทวายสีแดงสลักลวดลายต่าง ๆ เป็นศิลาแบบสมัยอยุธยาซึ่งเข้าใจว่าเป็นความคิดของช่างสมัยนั้นที่ตั้งใจสร้างพระพุทธรูปองค์ให้มีเครื่องหมายแห่งมหาปุริสลักษณะนั่นเอง เล่าต่อกันมาว่าได้แสดงปาฏิหารย์ระทับพิงอยู่ในวิหาร ที่พระบาทมีจอกแหนติดอยู่เต็ม ชาวบ้านเข้าใจว่าเสด็จมาเองโดยทางน้ำ และสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ใบเสมา ซึ่งเป็นศิลาทราย สีแดงตั้งรายรอบพระอุโบสถ สลักลวดลายต่างๆเป็นศิลาแบบสมัยอยุธยา ในสมัยก่อนตรงบริเวณหน้าวัดจะเป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือของชาวชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครสวรรค์ หลวงพ่อธรรมจักรเป็นที่เคารพสักการะของชาวชัยนาท และจังหวัดใกล้เคียง ทางวัดจัดงานนมัสการปิดทองเป็นประจำทุกปีๆ ละ ๒ ครั้ง คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ และ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ห่างจากจังหวัดชัยนาท
ขึ้นไป ๘ กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาธรรมามูล อำเภอเมืองชัยนาท
การเดินทาง การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึงสี่แยกถนนสายเอเชีย ช่วงชัยนาท-ตาคลี เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ประมาณ ๘ กิโลเมตร ถึงตัวเมืองชัยนาทเลี้ยวขวาไปตามถนนพหลโยธิน ๘ กิโลเมตร วัดธรรมามูลจะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ


๔. เขื่อนเจ้าพระยา
           เขื่อนเจ้าพระยา เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ ๓ ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ห่างจากจังหวัด ประมาณ ๘ กิโลเมตร สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐
            เขื่อนเจ้าพระยามีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว ๒๓๗.๕๐ เมตร สูง ๑๖.๕ เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง ๗.๕๐ เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง ๑๒.๕๐ เมตร จำนวน ๑๖ ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๗๐.๕๐ เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง ๗ เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน ๒๐ ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑,๐๐๐ เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย อัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ ๓,๓๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่การปล่อยน้ำจะควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อมิให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาทัศนียภาพรอบเขื่อนสวยงาม ช่วงเดือนมกราคมในบริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อนจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นมาอาศัยหากิน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม ๕ สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายในจังหวัด
        เขื่อนเจ้าพระยา มีบ้านพักรับรองสำหรับนักท่องเที่ยวไว้บริการ จำนวน ๑๙ ห้อง ราคา ๑๐๐ บาท/คน/วัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (๐๕๖) ๔๑๑๕๕๙ ต่อ ๓๐๒
การเดินทาง เขื่อนเจ้าพระยาจากเมืองชัยนาท ตามเส้นทาง ๓๐๔ และเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางไปอำเภอสรรพยา ประมาณ ๖ กิโลเมตร หรือรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ อ.วัดสิงห์ จะผ่านบริเวณหน้าเขื่อน และรถประจำทางสาย ๑๐๖๑ ชัยนาท-โพธิ์นางดำ


๕. วัดปากคลองมะขามเฒ่า
"หลวงปู่ศุข"
         วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตำบลมะขามเฒ่า เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๓๘ กิโลเมตรที่ ๓๖๓๗ เนื่องจากเดิมมีต้นมะขามเก่าแก่อยู่ต้นหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัด วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วย วัดนี้มีความสำคัญ คือ เป็นวัดที่เคยมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่ง ก็ คือ "พระครูวิมลคุณากร (ศุข)" หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม "หลวงปู่ศุข" ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังเป็นอาจารย์ของเสด็จใน "กรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์" พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๕ บิดาแห่งกองทัพเรือ
          ในปัจจุบัน วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้รับการปรับปรุงจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่ง ที่มี นักท่องเที่ยวแวะเวียนกันมาประจำ ภายในวัด คุณจะได้พบกับภาพฝีพระหัตถ์กรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์ ที่ท่านวาดให้หลวงปู่ศุขเมื่อตอนสร้างโบสถ์ และ ศาลา กุฏิเก่าหลวงปู่ศุข ท่านสามารถนมัสการรูปหล่อหลวงปู่ศุข และกรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์ ภาพถ่ายที่มีมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่ ศุขท่านยังมีชีวิตอยู่ หุ่นขี้ผึ้ง หลวงปู่ศุข และมณฑปเก่าที่หลวงปู่ศุขยังสร้างไม่ทันเสร็จ ก็มรณะภาพเสียก่อน ทางจังหวัดได้บูรณะจนสวยงาม และ วัตถุโบราณ ที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ศุข
การเดินทาง มีรถประจำทาง สาย ๑๐๖๕ ชัยนาท-วัดสิงห์, สาย ๑๙ กรุงเทพฯ-วัดสิงห์ ผ่าน


๖. วัดพระแก้ว
           วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑๐ บ้านบางน้ำพระ ที่ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอมาสรรคบุรีทางทิศใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ ๒๓ กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๐๐ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘
          วัดพระแก้วเป็นวัดโบราณสถานที่สำคัญวัดหนึ่ง ภายในวัดมีองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่มีความงดงาม ลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่ที่เป็นศิลปะแบบละโว้ทรงสูงผสมกับเจดีย์ทวาราวดีตอนปลาย ฐานเรือนธาตุแบบลดทองไม้เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยกับสมัยศรีวิชัย ผสมผสานกัน ซึ่งมีความสวยงามแปลกตา จนมีผู้กล่าวว่าเป็นราชินีแห่งเจดีย์ในเอเซียอาคเนย์ สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ มีอายุประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ ปี พระสถูปเจดีย์แต่เดิมมีเจดีย์บริวารรายล้อมอยู่รอบข้างหลายสิบองค์
บริเวณหน้าเจดีย์มีวิหารหลวงพ่อฉาย ด้านหลังองค์หลวงพ่อฉายมี “ทับหลัง” แกะสลักติดอยู่ ลักษณะเป็น ภาพหงายไม่ใช่ภาพคว่ำ เหมือนทับหลังทั่วไป เป็นรูปช้างมอบหงายอยู่บนแท่น เป็นภาพจำหลักบนศิลาทรายภาพที่เห็นเป็นรูปพระอิศวรทรงช้างเอราวัณอยู่ในซุ้มเรือนแก้วเป็นศิลปะขอมมีอายุเป็นพันปีขึ้นไป เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงคงจะมีผู้นำโบราณวัตถุชิ้นนี้มาจากที่ใดที่หนึ่งในอาณาจักรขอมและนำแท่งศิลาทรายที่มีภาพจำหลักพระอิศวรทรงช้างเอราวัณแกะเป็นพระพุทธรูป แต่ได้หงายเศียรช้างเอางวงขึ้นด้านบน สันนิฐานว่าคงจะบอกเป็นปริศนาธรรมว่า “ผู้ที่ต้องการความสำเร็จสูงสุดเช่นพุทธองค์ จะต้องรู้จักปฎิบัติตนทวนกระแสแห่งโลภะ โทสะ โมหะ ถึงจะพบความสุขในชีวิต”
ส่วนบนสุดเป็นรูปพระอินทร์ หรือพระศิวะกำลัง หรั่งน้ำพระพุทธมนต์ไหลถึงตัวช้างเดิมพระสมุท์โปร่งเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ได้พบหลวงพ่อฉาย ในสภาพชำรุดหักเป็นสามท่อนอยู่ในป่าแฝก จึงจัดทำฐานไว้ชั่วคราว และต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้บูรณะซ่อมแซมให้สมบูรณ์ดังเช่นในปัจจุบันและประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชัยนาท


๗. เขาสรรพยา
           เขาสรรพยาเป็นเขาที่สูงและใหญ่ที่สุดในเขตอำเภอสรรพยา ตั้งเด่นอยู่กลางทุ่งนาเพียงลูกเดียว เป็นที่ตั้งของวัดเขาสรรพยาบูรณาราม อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๓๒-๓๔ ทางหลวงแผ่นดินสายสิงห์บุรี-ชัยนาท ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเดิมเขาสรรพยาไม่ค่อยเป็นที่รู้จักการเดินทางไปลำบาก ต่อมาเมื่อชาวบ้านไปพบโบราณสถานบนเขา เช่นพระอุโบสถ เจดีย์ศาลาการเปรียญถ้ำน้ำมนต์คนทั่วไปจึงให้ความสนใจและพากันไปเที่ยวชมมากยิ่งขึ้น
สถานที่น่าสนใจบนเขาสรรพยา ได้แก่บรรดาถ้ำต่าง ๆ เช่น ถ้ำน้ำมนต์ ถ้ำกบ ถ้ำลับแล และถ้ำค้างคาว ลานตะกร้อ ซึ่งเป็นลานกว้างบนยอดเขา มีขนาดกว้างประมาณ ๕๐ x๕๐ เมตร และมีต้นสังกรณีตรีชวาซึ่งเป็นยาสมุนไพรที่ชาวบ้านนำมาใช้รักษาโรค
เขาสรรพยามีประวัติที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ พิเภกบอกวิธีแก้ให้ พระรามจึงให้หนุมาณไปเอายาคือต้นสังกรณีตรีชวาที่เขาสรรพยา ไปบดทำยาโดยผสมกับน้ำในแม่น้ำมหานที ตามคำบอกของพิเภกเมื่อนำยาดังกล่าวไปทาที่บาดแผลพระลักษมณ์ก็หายจากพิษของศรโมกขศักดิ์
เมื่อขึ้นไปบนเขาสรรพยาที่ทำเป็นบันไดขึ้นไปประมาณ ๒๐๐ ขั้น จะพบรูปปั้นหนุมาณซึ่งสลักจากหินก้อนใหญ่และเมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาจะเห็นทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติของท้องทุ่ง และอาณาบริเวณโดยรอบที่มีต้นตาลโตนดขึ้นอยู่เรียงรายสวยงามน่าชม
บริเวณไหล่เขา บันไดทางขึ้นเขา หนุมาน ตรีชะวา


๘. วัดอินทราราม
             วัดอินทราราม (ตลุก) เป็นวัดโบราณมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ในวัดมีถาวรวัตถุที่มีคุณค่าน่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะหอระฆังคู่ และหอพระไตรปิฎก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างไว้กลางสระน้ำ ลักษณะเป็นทรงไทยโบราณ ประดับกระจกสีเป็นลวดลายสวยงามรายรอบไม้ฝาและเชิงชาย ช่อฟ้าหน้าบรรณ อีกทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ทำจากใบลานจารึกอักษรขอมโบราณจำนวนมาก
              วัดอินทราราม (วัดตลุก) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา อยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา วัดนี้มีมรดกของชาติที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อันงดงามอย่าง “หอพระไตรปิฎก” สร้างในสมัยหลวงปู่อ่ำเป็นเจ้าอาวาส หอพระไตรปิฎกแห่งนี้สร้างแบบทรงไทยตั้งอยู่กลางสระน้ำ เป็นเครื่องไม้นาท หอระฆัง หอไตร

๙. วัดทรงเสวย
              วัดทรงเสวย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน อยู่ ณ บ้านหนองแค หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เดิมชื่อวัดหนองแค เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๑ (ร.ศ.๑๒๗) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินประพาสต้นทางชลมารค ตรวจสอบลำน้ำเก่าโดยทางรถไฟถึงจังหวัดนครสวรรค์ แล้วเสด็จประทับเรือพระที่นั่งครุฑเหิรเห็จ เพื่อตรวจลำแม่น้ำมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) ทรงเสด็จและแวะเสวยพระกระยาหาร ที่วัดนี้มีเครื่องใช้ของพระองค์อยู่เป็นจำนวนมากทรงประทับแรมที่วัดหัวหาด อำเภอมโนรมย์ ปัจจุบันเรียกวัดนี้ว่าวัดพิกุลงาม นับเป็นการเสด็จเมืองชัยนาทเป็นครั้งที่ ๓ ต่อจากนั้นวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๑ เสด็จ ฯ ตามลำน้ำมะขามเฒ่าผ่านตลาดวัดสิงห์ ลำน้ำมะขามเฒ่าสมัยนั้นเต็มไปด้วยผักตบชวาและตอไม้ ประชาชนจึงได้ช่วยกันตัดตอไม้ และเก็บผักตบชวา พระองค์ประทับแรมที่หนองแค ซึ่งสมัยนั้นขึ้นกับตำบลคลองจันทร์ ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์
         ในครั้งนั้น พระอธิการคล้อยเป็นเจ้าอาวาสได้ชักชวนราษฎรสร้างพลับพลารับเสด็จ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์เสวยยอดหวายโปง ตาแป้นมรรคนายกวัดหนองแคจึงได้ให้ชาวบ้านไปหายอดหวายโปงมาเผาไฟ หยวกกล้วยต้ม น้ำพริกปลามัจฉะ มาถวายพระองค์ทรงเสวยอย่างเจริญพระกระยาหาร และตรัสกับชาวบ้านว่า ต่อไปนี้ให้เรียกวัดนี้ว่าวัดเสวย แต่ชาวบ้านได้เติมคำว่า “ทรง” ไปด้วย จึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดทรงเสวย” และหน้าวัดยังมีปลาชุม จนคนผ่านไป-มา เรียก "วังมัจฉา"
           จนทุกวันนี้ และที่วัดทรงเสวย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายของที่ระลึกแด่พระอธิการคล้อย เป็นของที่ระลึกงานพระศพของพระเจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ของที่ถวายได้แก่ บาตร ฝาบาตรมีตราสีทองรูปวงรี มีข้อความว่า ร.ศ. ๑๒๘ งานพระศพพระเจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ปิ่นโตขนาดใหญ่ที่ฝาปิ่นโตมีข้อความเช่นเดียวกับฝาบาตร พระขรรค์ ตาลปัตรใบลาน (ปัจจุบันได้สูญหายไป) ตะเกียงลาน เรือสำปั้น ป้านน้ำชา ๑ ชุด สิ่งของเหล่านี้ปัจจุบันทางวัดยั งเก็บรักษาไว้อย่างดี ป้านน้ำชาพระราชทาน ป้านน้ำชา เรือสำปั้น

๑๐.วิหารหลวงปู่ศุข
           หลวงปู่ศุข หรือพระครูวิมลคุณากร เกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ และเป็นพระอาจารย์ของพลเรือเอกพระบรมเจ้ากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ด้วยบุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ ๒๘ และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้ว ได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน  จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์-อาจารย์เพื่อจะได้ศึกษาทางมหาพุทธาคมและปรากฎว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความ สามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงปู่ศุขเองก็หมดความรู้ที่จะถ่ายทอด จึงแนะนำให้เสด็จในกรมฯไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ
        รูปหล่อเหมือนหลวงปู่ศุข หรือพระครูวิมลคุณากร ได้ประกอบพิธีประดิษฐานในวิหารเชิงเขาพลองในสวนนกชัยนาท นักท่องเที่ยวและผู้มีจิตรศรัทธา สามารถขึ้นไปนมัสการได้ทุกวัน
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพลองในสวนนกชัยนาท หมู่ ๔ ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ๑๗๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๕๖๔๑-๑๔๑๓
เวลาที่เปิดให้ชม ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น.
การเดินทาง การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึงสี่แยกถนนสายเอเชีย ช่วงชัยนาท-ตาคลี เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ประมาณ ๗ กิโลเมตร สวนนกชัยนาทจะอยู่ทางขวามือ ห่างจากสี่แยกถนนสายเอเชียประมาณ ๖ กิโลเมตร

๑๑.ศาลหลักเมืองจังหวัดชัยนาท
ประวัติความเป็นมา
         สืบเนื่องมาจากนายประกิต อุตตะโมต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๕๒๐) ได้ปรึกษากับพ่อค้า ข้าราชการ ละประชาชนจังหัดชัยนาท ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะให้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นหลักชัยนำสิริมงคลมาสู่เมืองชัยนาท ดังนั้น ผู้ว่าราชการชัยนาทลำดับต่อมาอีก ๔ ท่าน คือ นายพัฒนะ สุวรรณพาณิชย์ นายจินดา จิตตรอง นายมนตรี ตระหง่าน และนายกุศล ศาสนติธรรม ได้พยายามหาทุนในการดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา จนถึงในสมัยที่ ดร.ไพรัตน์ เดชะรินทร์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้มีการรณรงค์หาทุนจากการรับบริจาค การให้เช่าบูชาเหรียญที่ระลึกการสร้างศาลหลักเมือง ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และการจำหน่ายหนังสือประวัติพระครูวิมลคุณากร (ศุข) รวมได้เงินทั้งสิ้น ๒,๒๕๙,๖๘๔.๕๕ บาท
        ศาลหลักเมือง เป็นสถาปัตยกรรมที่กรมศิลปากร ได้ออกแบบเป็นแบบยอดปราสาท มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดพุ่มทองแดง ๒๑.๓๘ เมตร ขนาดของตัวศาล ๙.๙๐/๙.๙๐ เมตร และมีขนาดริ้วรอยศาล ๑๘/๒๐ เมตร ตัวเสาหลักเมืองทำด้วยได้ชัยพฤกษ์มีลักษณะเป็นเสากลมเรียวปลาย เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๒๕๕ เมตร สูง ๓.๑๙ เมตรโดยได้มีการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๘ จนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐ สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๑,๗๐๔,๘๘๐ บาท
        จังหวัดชัยนาทได้อัญเชิญเสาหลักเมืองไปน้อมเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสุหร่าย ทรงเจิม เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นได้อัญเชิญกลับมาเฉลิมฉลองที่จังหวัด มีมหรสพ สมโภชระหว่างวันที่ ๔-๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๐
สถานที่ตั้ง ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขตเทศบาลเมืองชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

๑๒.พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุณี
ประวัติความเป็นมา
         พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุณี เป็นพิพิธภัณฑ์สถานประจำจังหวัดชัยนาท พระชัยนาทมุณี (นวม) อดีตเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท ได้รวบรวมโบราณวัตถุศิลปะวัตถุในท้องที่จังหวัดชัยนาทไว้เป็นอันมาก ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ในเนื้อที่ ๓ ไร่
อาคารเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น ชั้นบนจัดแสดงพระพิมพ์สมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้นล่างจัดแสดงพระพุทธรูปสังคโลก เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ฯลฯ ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ศิลปะโบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้รับมอบจากท่านเจ้าคุณพระชัยนาทมุนี (นวม) สุทตฺโตอดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นผู้รวบรวมเก็บรักษาและได้มอบให้กรมศิลปากรในภายหลังกรมศิลปากรจึงตั้งชื่อ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี”
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ๑๗๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๕๖๔๑-๑๔๖๗
เวลาที่เปิดให้ชม ตั้งแต่วันพุธ-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๕ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๐ บาท
หมายเหตุ มีเจ้าหน้าที่บรรยายนำชมแก่นักเรียน นักศึกษาที่เข้าชม

๑๓.วัดเขาท่าพระ
ประวัติความเป็นมา
        วัดเขาท่าพระอยู่ในอำเภอเมืองชัยนาท ตั้งอยู่เชิงเขาท่าพระ มีพระพุทธบาทจำลองอยู่บนยอดเขาแห่งนี้ ซึ่งรอยพระพุทธบาทสร้างด้วยศิลา มีลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทวัดธรรมามูล แต่มีความสมบูรณ์กว่า ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ทางวัดจัดให้มีงานสมโภชปิดทองรอยพระพุทธบาทในวันเพ็ญเดือนสาม ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาทุกปี
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาท่าพระ หมู่ 3 ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 17000

๑๔.เขื่อนเรียงหินกันน้ำเซาะหน้าศาลากลางจังหวัด
ประวัติความเป็นมา
         เป็นเขื่อนกันน้ำเซาะ ที่ทางจังหวัดชัยนาทโดยเทศบาลเมืองชัยนาทเป็นผู้ดำเนินการสร้างให้มีขึ้น เพื่อป้องกันการเซาะของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด และเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดชัยนาทและนักท่องเที่ยวทั่วไป มีความยาว 425 เมตร มีบริเวณที่สวยงามมากเพราะอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้างใหญ่ บริเวณสันเขื่อนปูหญ้าและปลูกต้นไม้อย่างเหมาะสม โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ออกแบบให้
สถานที่ตั้ง ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขตเทศบาลเมืองชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท


๑๕.วัดเขาพลอง
ประวัติความเป็นมา
         ตั้งอยู่ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท อยู่ห่างจากตัวอำเภอทางทิศะวันออกเฉียงเหนือ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดปฐมเทศนาอรัญวาสี (วัดเขาพลอง) บนยอดเขาจะสามารถเห็นทิวทัศน์อันสวยงามของตัวเมืองชัยนาทได้อย่างชัดเจน ที่บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของสวนนกชัยนาท และเป็นประดิษฐานพระพุทธอริยธัมโม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีความสูง 8 วา 3 ศอก 1 นิ้ว รวมฐานสูง 9 วา 3 ศอก 6 นิ้ว หน้าตักกว้าง 6 วา 1 ศอก 8 นิ้ว
แหล่งโบราณคดีเขาพลอง
          ตั้งอยู่ ณ บ้านเขาพลอง ตำบลเขาท่าพระ พบภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เนื้อในมีสีล้ำ การเผาไม่สมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในแหล่งโบราณคดียังไม่สูงนัก ซึ่งอาจกำหนดอายุในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคโลหะ)
สถานที่ตั้ง บ้านเขาพลอง ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท






















ผอ.กศน.อำเภอเมือง

ผอ.กศน.อำเภอเมือง
นายทวี สว่างมณี

คุณชอบบริการใดของห้องสมุดมากที่สุด

เอกสารดาวน์โหลด

ข่าวสดออนไลน์

ข่าวไทยรัฐออนไลน์